วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552



บันทึกการเข้าเรียนวัน 7/01/52


การจัดสภาพแวดล้อมจัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้สร้างประสบการณ์และความพร้อมในแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มตามความสนใจการจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือสัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจโดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างอิ่มเอิบไปด้วยภาษาไตลอดเวลาการจัดสภาพแวดล้อมในมุมของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็กมุมบ้านเด็กจะเข้ามาในบ้านพูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันทำกิจกรรมต่างๆเช่น ล้างชามในครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษดินสอมุมหมอเด็กจะได้เล่นบทบาทสมมุตรเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในการอธิบายอาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอโดยการจดการนัดหมายไว้ในสมุดคนไข้มุมจราจรเด็กด้เรียนรู้กฎจราจร การปฎิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆรู้จักทิศทาง ซ้าย-ขวา การแสดงบทบาทต่างๆมุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษดินสอ สื่อ อุปกรณ์หนังสือ ขั้นตอนการแนะนำให้ชัดเจน เด็กจะเข้าไปเรียนรู้โดยที่เด็กต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครูเด็กสนทนาหรือหัดเขียน ในสิ่งที่ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจบทบาทของครูเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้นซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็นการเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือกและจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียนเพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือบรรยากาศการสอนแนวใหม่เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจการเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิดซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง
ความเชื่อมโยงภาษา

มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดย ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเราพูด เล่า สนทนาโต้ตอบกัน เราอ่านจากหนังสือประเภทต่าง ๆ อ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันและช่วยให้เด็กมี ความรู้เพิ่มพูนขึ้น ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษาคือการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไป เด็กจะมองตามตัวหนังสือและมักจะพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพหรือจากตัวหนังสือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการรู้หนังสือ…และอาจารย์ยังได้เสริมถึงเรื่องกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเรียนรู้ทางภาษาได้เช่น 1.การเล่าสิ่งที่ตนเองรัก 2.การเล่าข่าวหรือกิจกรรมที่ตนเองได้ไปพบเจอมาสิ่งสำคัญ คือผู้ใหญ่ต้องอ่านให้เด็กฟังเยอะๆ และสอนให้เด็กกวาดสายตา หาความหมายจากภาพขั้นของพัฒนาการทางการอ่านขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก พัฒนาการในขั้นนี้กู๊ดแมน เรียกว่า “รากเหง้าของการอ่าน เขียน”ขั้นที่สอง จะผูกพันกับตัวอักษรขั้นที่สาม เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษร ตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา หากบอกให้เด็ก......ขั้นสุดท้าย ระบบตัวอักษรการรับรู้ด้านพัฒนาการทางเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนระยะแรก แยกแยะความต่างระหว่าสัญลักษณ์ เช่น ม. กับ ฆ มีการจัดเรียงอักษรเป็นเส้นตรง บางครั้งจะใช้สัญลักษณ์แทนคำหนึ่งคำ เช่น คำว่า รัก สัญลักษณ์คือ ใจการเขียนจะสัมพันธ์กับตัวอักษรมากกว่ารูปร่าง จะมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระยะที่สอง เขียนตัวอักษรที่ต่างกับสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความโดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม เช่น จากอาจารย์ได้ยกตัวอย่างคือ "พจมรรน"(พี่จ๋ามาเร็วๆนะ)ใช้ตัวอักษรจำนวนจำกัดนี้เขียนทุกสิ่งที่เธอต้องการ ด้วยการจัดเรียงตัวอักษรเหล่านั้นให้มีลักษณะแตกต่างกันแล้วเธอบอกว่า “หนูไม่รู้วิธีการอ่าน แต่พ่อหนูรู้ค่ะ”เด็กจะเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนกับคำและความหมาย แม้ว่าเด็กยังไม่แยกความแตกต่างระหว่างเสียงและตัวอักษรระยะที่สาม เป็นลักษณะที่เด็กออกเสียงในขณะเขียนและการเขียนของเด็กจะเริ่มใกล้เคียงกับการเขียนตามแบบแผนเด็กจะใช้พยัญชนะเริ่มต้น

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551

กระบวนการการเรียนรู้

กระบวนการ
บรรยายกาศการเรียน มีลักษณะความร่วมมือระหว่างครูและเด็ก โดยมีทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาวตามขั้นตอน
การฟังและการพูดของเด็ก ต้องให้เด็กฟังและออกเสียงพูดจึงจะได้เรียนรู้ถึงภาษาได้อย่างรวดเร็ว เด็ก 2 - 3 ขวบ บุคคลที่อยู่รอบข้างจะเป็นตันแบบของเด็กในการพูดหรือพัฒนาการทางด้านภาษา
การอ่านการเขียน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับไวยากรณ์ของภาษาเพื่อจะได้พัฒนาทางด้านภาษา อ่าน เขียน เพราะการเรียนคือการร่วมแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก ออกมาภาษาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องฝึกฝนทั้อ่าน เขียน ฟัง พูด คิด
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม การอ่าน เขียน เน้นความเข้าใจมากกว่าการท่องจำ การสนทนาโต้ตอบการคิดวิเคราะห์ร่วมกับผู้ใหญ่เป็นต้น

ทฤษฎีที่เป็นกุญแจ

บันทึกการเรียนในวันที่ 3 - 12 - 51 ได้ดังนั้

ทฤษฎีที่เป็นกุญแจสำคัญของการสะท้อนความคิดต่อการสนอของครู (Reflective teaching)"ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางองกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ในทุกเรื่อง
การนำเข้าสู่บทเรียน- การร้องเพลง- การใช้คำถาม- ปริศนาคำทาย- ความคล้องจอง- การใช้นิทาน- เกมส์ เช่น เกมภาพตัดต่อ เกมจับคู่ภาพ
ขั้นสอน- การสาธิตเป็นกระบวนการทำ เพราะการสาธิตเป็นลำดับขั้นตอน
เพียเจต์เด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมด้วยการเคลื่อนใหวและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ ขั้นภายในตนเองโดยเด็กเป็นผู้กระทำ (Active) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง จึงกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันและรายบุคคล
ไวกอตสกีการเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน ครู บริบทหรือสิ่งต่างๆรอบตัวมีอิทธิพลต่อเด็กในการช่วยเหลือให้ลงมือทำเป็นขั้นตอนผ่านการและกิจกรรมนำไปสู่การเรียนรู้ภาษาผ่านการใช้สัญลักษณ์
ฮอลลิเดย์บริบทสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก เด็กจะเป็นผู้ใช้ภาษาในการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ทุกสิ่งผ่านภาษาและเรียนเกี่ยวกับภาษาไปพร้อมๆกัน
กู๊ดแมนภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาและต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภาษา
"กระบวนการ""บรรยากาศการเรียน" มีลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิดด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยทำงานในสว่นใด
การวางแผนจะมีทั้งระยะยาว( long- range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้างๆการวางแผนระยะสั้น(shot- range plans) โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรม
"การฟังและพูดของเด็ก"เด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่ายังพูดไม่ได้
เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กใหพูดนั้นเด็กจำเป็นต้องได้ยิน ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้น การเรียนรู้ประโยคพูดยาวๆ ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เด็กวัย 2-3 ขวบ การพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี การสนทนา การซักถาม เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่ายไปหาเรื่องที่ยากและสลับซับซ้อนมากขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อสารความคิดรวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี
"การอ่านและเขียนของเด็ก"การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฏเกณฑ์ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญคือ การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องที่อ่านว่า สิ่งที่ประกอบกันขึ้น คือองค์รวมที่เป็นเนื้อหาที่นำเสนอระบบการคิดผ่านไวยากรณ์ของภาษา
ควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ทางภาษาอย่างง่ายๆ เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งๆรอบตัว และพยายามเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลาเพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริง
จึงกล่าวได้ว่า การเขียน หมายถึง การสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างความหมายการเขียนและการอ่านจะดำเนินการไปพร้อมกัน เนื่องจากการเป็นนักเขียนที่ดีนั้นต้องอาศัยการอ่านที่แตกฉานในเรื่องนั้นๆ ส่วนการฝึกฝนให้เด็กเขียนหนังสือนั้น ครูต้องตระหนักว่าการฝึกเขียนที่ให้ลอกเลียนแบบโดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิดเเต่เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือ หรือฝึกเฉพาะความสวยงามของลายมือแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการเขียนที่มาจากความคิด
ภาษาที่ได้จากกาฝึกคิดและการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษรอย่างธรรมชาติจากการได้ฟังมาก ได้อ่านมาก จนสามารถถ่ายทอดเองได้ และมาฝึกฝนความถูกต้อง สวยงามภายหลัง ส่วนการอ่านนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ จากถนน จากสิ่งรอบตัว จากป้ายโฆษณา จากถุงขนม
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กให้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกัน ในการรับฟังและการตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ ครู-เด็ก เรียนร่วมกัน หรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม"อ่าน-เขียน"- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การเรียนรู้ของเด็ก

19/11/51 วันนี้ อาจราย์ได้เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ของเด็กซึ่งการเรียนรู้ของเด็กที่เกิดขึ้นมาจากที่สมองมีการทำงานอยู่สองขั้น 1. ซึมซับ 2.ปรับโครงในความรู้ใหม่ เด็กแรกเกิดถึง-2ปี จะเป็นขั้นซึมซับ เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เด็ก2-4 ปี เป็นขั้นที่เริ่มจะพูด เริ่มใช้คำศัพท์เพื่อที่จะสื่อความหมาย เด็ก 5-6 เริ่มที่จะใช่เหตุผลได้

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

งานวิจัยเรื่อง หนังสือนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 1
ชื่อผู้วิจัย
สาวกิจสนีย์ ศรีโสภา
นางสาวนิรดา ละว้า
นางสาวจริยา มงคล
โปรแกรมวิชา
การศึกษาปฐมวัย
คณะ ครุศาสตร์
ที่วิจัย 2547

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับจากการฟังนิทานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้าทดลองครั้งนี้ เป็นประชากรทั้งชายและหญิง จำนวน 175 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี จำนวน 6 ห้อง โดยกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง โดยใช้การเล่านิทานวันละ 2 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 5 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ หนังสือนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 จำนวน 10 เล่ม และประเมินหนังสือนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาอีกจำนวน 60 ชุด เพื่อใช้ในการทดสอบเป็นรายห้อง โดยใช้วิธีการเล่านิทานให้เด็กฟัง แล้วใช้เนื้อหานิทานที่เล่ามาใช้เป็นคำถามเด็กและให้ครูเป็นผู้ประเมินแบบสอบถาม ผลการดำเนินการ พบว่า 1. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 1 ที่ได้รับฟังนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษามีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้น 2. แบบประเมินหนังสือนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 1 ผลการประเมินค่าเฉลี่ย 4.8 ซึ่งแปลความหมายของคะแนนเฉลี่ยได้คือ มีค่ามากที่สุด หมายความว่า หนังสือนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาสำหรับเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 1 มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง